วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

ผักชีช่วยไตล้างพิษ

ไตของคน มีหน้าที่กรองสารพิษขจัดของเสียออกจากร่างกายเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพดี  ถ้าเจ้าของร่างกาย กินอาหาร กินยา โดยขาดความระมัดระวัง  นำของเสียเข้าสู่ร่างกาย ไตก็จะต้องทำงานหนักเพื่อขจัดพิษหรือของเสียออก  ถ้าไตทำงานไม่ไหวก็จะตายซึ่งเรียกว่า"ไตวาย" ท่านเจ้าของร่างก็จะวายชีพด้วย
ท่านเจ้าของไตจะต้องมีสติในการกิน  กินอาหารที่ไม่มีรสจัด ไม่เค็ม  ไม่หวาน  ไม่เปรี้ยว เกินไป  ไม่ปล่อยตัวให้มีสุขภาพทรุดโทรม  จนต้องกินยารักษาในปริมาณมากเกินไป  หมั่นออกกำลังกาย ให้เหงื่อออกไม่น้อยกว่า 3 วันต่อ 1 อาทิตย์ การปฏิบัติตนตามนี้เป็นวิธีถนอมไตแบบถาวร
ต้นและใบผักชี เป็นพืชที่ช่วบไตล้างพิษได้  โดยนำต้นและใบผักชี 1 กำมือล้างน้ำให้สะอาด นำมาหั่นเป็นท่อนสั้นๆ ใส่ในหม้อต้มด้วยน้ำสะอาด เคี่ยวให้น้ำผักชีออก ยกลงตั้งทิ้งไว้จนน้ำเย็น จึงกรองน้ำใส่ขวดไว้  เก็บแช่ไว้ในตู้เย็น นำออกมาดื่มวันละ 1 แก้ว  น้ำผักชีจะช่วยขจัดพิษ ช่วยไตได้

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ฆ่าสัตว์ไม่เป็นปาณาติบาต,ทำบุญตักบาตร,ให้ทาน,ไม่ได้รับอานิสงส์บุญ มีจริงหรือ?

ในวงสนทนาของท่านผู้สูงอายุกลุ่มย่อยบางกลุ่ม  พูดคุยถึงการให้ทาน  ผู้สูงอายุท่านหนึ่งให้ทัศนะว่าท่านให้ทานต้องได้กุศลแน่ ท่านอ้างว่าในการไห้ทานนั้นได้กำจัดความตระหนี่  ความหวงแหนซึ่งเป็นกิเลสชนิดหนึ่งออกไป  ทำให้กิเลสของท่านเบาบางลง ตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา
ผู้เขียนบทความมีทัศนะว่า  ผลของกรรม  ไม่ได้เกิดตามกิริยาที่ได้เห็น  เราเห็นคนนั้นคนนี้ทำบุญให้ทานแล้วเราก็ตัดสินว่าเขาผู้ให้ทานหรือทำบุญ  คงได้รับอานิสงส์บุญแน่  และอนุโมทนาด้วย  คงไม่ถูกต้องทีเดียว
ตัวตัดสินผลแห่งกรรมไม่ได้อยู่ที่กิริยาการกระทำตามที่ตาเห็น   แต่อยู่ที่เจตนาของผู้กระทำกรรมนั้น  เจตนาเป็นอาการของจิต(สมอง)  ใครๆมองไม่เห็น  ผู้กระทำกรรมรู้ได้ด้วยตนเองเท่านั้น
ตามที่ปรากฎจากวงสนทนานี้ ถ้าผู้ให้ทานอยากให้ผู้รับทานได้พ้นทุกข์เพราะทานของตน(จำนวนทานจะมีมากหรือน้อยไม่ใช่ข้อจำกัด)  ผู้ให้ทานมีเจตนาดี ตรงกับเจตนาการทำทานในพระพุธศาสนา  ให้โดยไม่หวังผลสิ่งใดๆตอบแทน เขาได้รับผลบุญของทานแน่นอน
แต่ถ้าเจตนาของผู้ให้ทานเป็นอย่างอื่น  เช่นมีเจตนาหรือคิดอยู่ในใจวาขออยาให้เรามีสภาพอย่างเขาเลย  หรือคิดว่าด้วยอำนาจแห่งทานนี้ ขอให้ช้าพเจ้าถูกเบอร์ในงวดนี้ด้วย  ทานนี้ก็ไม่ให้ผลทางดี เพราะจิตของท่านเพิ่มตัณหา(ต้นเหตุของความทุกข์)  ตรงกับคำพังเพยว่า"ทำบุญแต่ได้บาป"
การทำปาณาติบาตก็เช่นเดียวกัน  ตัวตัดสินที่จะมีผลลัพเป็นปาณาติบาต หรือไม่ก็ดูที่เจตนา ผู้ฆ่าไม่มีเจตนาฆ่า  แต่ทำให้ชีวิตสัตว์ล่วงไป(ตาย)ด้วยความพลั้งเผลอ  เขาก็ไม่ผิดศีลข้อปาณาติบาต  ผู้ทำกรรมย่อมรู้ได้เอง  คนอื่นหารู้ไม่
ความสำคัญจึงอยู่ที่เจตนา

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อิสระภาพ

ความสุขของคนอย่างหนึ่งคือความมีอิสระภาพ  เราหมายถึงอิสระภาพทางกายและอิสระภาพทางใจ(สมอง)  สามารถทำกิจกรรมใดๆได้โดยเสรี  แต่กิจกรรมนั้นๆต้องไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่นด้วย(เคารพสิทธิของผู้อื่นตามกฎหมาย)  นั่นคือเราต้องมีความรู้ทางกฎหมายและวัฒนธรรมพอสมควร
ความมีอิสระภาพที่สำคัญยิ่งคือความมีอิสระภาพทางใจ(จิต,สมอง)  เพราะโดยปกติความสุขหรือความทุกข์มักปรากฏขึ้นที่ใจ  ความทุกข์ทางกายพอทนกันได้ แต่ความทุกข์ทางใจทนได้ยาก หรือทนไม่ได้ เลย   บางคนทนไม่ไหวมักคิดฆ่าตัวตาย(หนีปัญหา)
เราทุกคนควรศึกษาให้รู้เรื่องของจิต(สมอง)  คนทั่วๆไปที่เรียกขานกันว่าปุถุชน จิตของเขามักอยู่ใต้อำนาจของอารมณ์ (เวทนา) นั่นคือจิตขาดอิสระภาพ  เขามักมีทุกข์มากกว่ามีสุขเพราะอารมณ์ต่างๆทำให้จิตมีทุกข์จิตต้องเหน็จเหนื่อยเพราะอำนาจของอารมณ์(เวทนา)
สิ่งที่ต้องทำคือทำให้จิตเป็นอิสระพ้นอำนาจอารมณ์ให้ได้  นั่นคือฝึกตนให้มีสติ มีปัญญาด้วยสมาธิจิต  ต้องรู้ทันอารมณ์ทุกชนิดที่เกิดขึ้นและปรุงแต่งจิต  มีสติรู้ทันป้องกันอารมณ์ไม่ให้ปรุงแต่งจิตได้
ตัวสตินี้คือพระเอกผู้รู้เท่าทันอารมณ์และยับยั้งอำนาจของอารมณ์(เวทนา) จิตก็จะเป็นอิสระ  ได้พักผ่อน  มีความสงบ  มีพุทธภาษิตรับรองไว้ว่า  นตฺถิ  สนฺติ  ปรมํ  สุขํ  ความสุขอย่างอื่น ยิ่งกว่าความสงบไม่มี

ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิต(ของทุกคน)

คนทั้งหลายมีวัยแตกต่างกันไปตามที่เราเห็นอยู่รอบกายเรา  มีทารกที่เกิดใหม่ เค็กวัยอนุบาล  เค็กวัยรุ่นหนุ่มสาว วัยทำงาน วัยเกษียณ  วัยผู้เฒ่า  คนบางคนมีอดีตที่สวยงาม มีความภาคภูมิใจ ไม่อยากลืมช่วงเวลาที่สวยสดงดงามอันมีความสุขนั้น  คนบางคนมีอดีตที่ขมขื่น  มีความทุกข์ อยากลืม ตั้งความหวังว่าในอนาคต น่าจะมีช่วงเวลาแห่งความสุขบ้าง  บางคนปลอบใจตนเองว่าเพราะเรามีบาปกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน ชาตินี้จึงต้องใช้กรรมเก่า  ทุกๆคนจึงมีความสุข ความทุกข์ คลุกเคล้าสลับกันไป  ความสุขหรือความทุกข์ปรากฎขึ้นที่ใจ(จิต,สมอง)
ความทุกข์ทางกาย เกิดได้เพราะความบกพร่องทางกาย บกพร่องเพราะ การกิน  การดื่ม การพักผ่อน ที่ทำตามใจตนเอง ขัดแย้งกับธรรมชาติ(ขาดความรู้  ที่ธรรมชาติต้องการ)  ผลคือเกิดโรคสารพัดโรค ต้องทุกข์ทรมารในยามชราภาพ  ความทุกข์ทางใจ(จิต,สมอง)  เพราะใจไม่เป็นอิสระ  ใจอยู่ใต้อำนาจของอารมณ์(เวทนา)  ใจเป็นทาสของอารมณ์  ต้องฝึกให้ใจมีอิสระด้วยสติ  ใช้สติคุม  ด้วยสมาธิปัญญา  ใจต้องอยู่เหนืออำนาจอารมณ์  ใจจึงจะสงบได้ ใจได้พักผ่อนมีความสุข  ความสุขทางกาย ความสุขทางใจ เกิดมีขึ้นได้เพราะความรู้(ปัญญา)  เรียนรู้ได้  ฝึกฝนได้
ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของทุกๆคนคือเวลาที่เกิดขึ้นเป็นปัจจุบันนี้(ที่นี่และเดี๋ยวนี้)  เวลาที่ผ่านไปเป็นอดีต  ไม่ต้องไปถวิลหา เพราะเป็นอดีตไปแล้ว เรียกกลับมาไม่ได้  เรื่องในอนาคตก็ไม่ใช่เรื่องจริง  เพราะยังไม่เกิดขึ้น อาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ด้วยเหตุผลของธรรมชาติ  แต่เวลาช่วงปัจจุบันนี้(ที่นี่เดี๋ยวนี้) สำคัญที่สุด เพราะเหตุการณ์กำลังเกิดมีผลเป็นความสุข หรือเป็นความทุกข์  อยู่ที่กรรมคือการกระทำของเรา ฉนั้นเราจึงต้องคิดแต่เรื่องดีๆ  ใช้สติปัญญช่วยคิด  ทำกรรมแต่กรรมดีๆ(กุศลกรรม) พูดแต่เรื่องดีๆ เรื่องที่มีสาระประโยชน์ ต่อผู้ฟังทั้งหลาย ต้องมีเมตตาเป็นพื้นฐาน  (เอาความรู้ทั้งหลายที่ศึกษามา  เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์)  ผลที่ได้รับน่าจะเป็นความสุข เป็นความสงบ ความเจริญในสังคมที่เราอาศรัยอยู่นี้

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แม่กลอง,คนแม่กลอง

คนทั่วๆไปรู้จักดีคือคนแม่กลอง  หมายถึงคนที่อยู่เมืองแม่กลอง ปัจจุบันเรียกเป็นทางราชการว่า จังหวัดสมุทรสงคราม  แต่คนทั่วไปก็ยังเข้าใจกันว่าคือจังหวัดสมุทรสาคร เขามักเรียกชื่อจังหวัดนี้ผิดอยู่บ่อยครั้ง
ความเป็นมาที่คนเรียกคนจังหวัดสมุทรสงครามว่า"คนแม่กลอง"มีดังนี้

เดิมมีนายอำเภอคนหนึ่งย้ายมาจากจังหวัดกาญจนบุรี  มาคำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสงครามครั้งที่  ที่ทำการจังหวัดตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านปรก มีวัดอยู่วัดหนึ่งชื่อ"วัดใหญ่"  ตั้งอยู่ตรงหัวแหลมปากคลองแม่กลองด้านทิศเหนือ อยู่ใกล้กับที่ทำการอำเภอในเวลานั้น ทางทิศใต้ของปากคลองแม่กลองเป็นที่ตั้งของวัดบ้านแหลม นายอำเภอคนใหม่นี้ย้ายมาได้นำเอาหนังวัวกระทิงตัวใหญ่มาด้วย ท่านตั้งใจจะสร้างกลองทัด(กลองสองหน้า)  ให้มีขนาดใหญ่ที่ด มีเสียงดังที่สุดเพื่อถวายวัดไว้ใช้ตีให้สัญญานเวลาเพลซึ่งพระต้องฉันจังหันเพล จึงจัดหาไม้ซุงทั้งต้นขนาดใหญ่จ้างช่างทำกลองทัดขึงด้วยหนังกระทิงที่นำมาด้วยนั้น ทำเสร็จแล้วได้กลองทัดขนาดใหญ่ที่สุด ตีส่งเสียงดังไปไกล จึงถวายวัดไว้ที่วัดใหญ่ให้พระได้ใช้ตีส่งสัญญานในเวลาเพล (กลองเพล) ข่าวเรื่องกลองขนาดใหญ่นี้แพร่หลายออกไป  เกษตรกรชาวสวนพากันมาดูต่างยอมรับว่าเป็นกลองขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา  ต่างพากันเรียกว่า"แม่กลอง"เพราะมีขนาดใหญ่มากยกให้เป็นแม่ของกลองทั้งหลาย กลองที่เคยเห็นมีขนาดเล็กเป็นได้เพียงลูกของกลองใบนี้เท่านั้น  ต่างก็ภาคภูมิใจว่าเมืองของตนมีแม่ของกลอง จึงพากันเรียกตนเองว่า"คนแม่กลอง"ตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นมา สำแม่น้ำก็มีชื่อตามว่า"แม่น้ำแม่กลอง"

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความเข้าใจธรรมฃาติ

ธรรมฃาติ  ใครๆที่รู้และเข้าใจเรื่องธรรมชาติอย่างแจ่มแจ้ง(เห็นจริง)  ก็หมดทุกช์แล้ว เพราะรู้แล้ว,หมดข้อสงสัยแล้ว
เพราะในพระธรรม  คำสอนของพระพุทธศาสนาที่สอนให้พ้นทุกข์ก็สอนเรื่องรู้แจ้งในธรรมฃาตินั้นเอง
อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา  คือปรากฎการณ์ของธรรมฃาติ(ธรรมชาติเป็นอย่างนี้เอง)
ตัวกู  ของกู เมียฉัน ลูกฉัน  บ้านฉันคือไม่รู้ไม่เข้าใจเรื่องธรรมฃาติเกิดทุกช์แน่ๆ
ตัวกู  ตัวของฉัน  ตัวของนายก,นางข,ไม่มีจริงในธรรมชาติ เพราะธรรมชาติเป็นอนัตตา เป็นความเข้าใจที่ผิดที่ยึดติดเป็นอุปาทานเห็นผิดมาแต่เดิม  แท้จริงสังขารทั้งหลายทั้งปวงเกิดได้เพราะผลของส่วนประกอบอื่นๆที่ประจวบกันพอเหมาะเช่น ส่วนที่เป็นธาตุดิน,  ธาตุน้ำ,ธาตุลม,ธาตุไฟ(ตัวชีวิต+ไข่)เป็นต้น
(ดิน,น้ำ,ลม,ไฟ,จัดเป็นธาตุตามคำจำกัดความของพระพุทธศาสนา)  สังขารทั้งปวงจึงไม่มีตัวตน ไม่มีตัวเราไม่มีตัวเขา ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ท่านใช้สรรพนามเรียกชื่อให้รู้ตรงกันว่า"อนัตตา"